โรงฝึกมุไกริว กรุงเทพ

Logo_MusashiMugaikai (1)

 

โรงฝึกมุไกริว กรุงเทพ (Mugai ryu Bangkok Dojo) เปิดทำการฝึกวิชาดาบ มุไกริว อิไอเฮียวโด (มักรู้จักกันในชื่อของ มุไกริว อิไอโด) โดย นาวาอากาศตรี ดร.​เอก  โอสถหงษ์ ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าโรงฝึก โดยเริ่มทำการเปิดกลุ่มฝึกในชื่อ มุไกริว บางกอก เคโกะไก (Bangkok Keikokai) ตั้งแต่ปี 2016 และ ทำการเปลี่ยนชื่อตามระเบียบของสมาคมเป็นโรงฝึกมุไกริวกรุงเทพ Mugai ryu Bangkok Dojo) ในปี 2023  

โดยกลุ่มฝึกใช้แนวทาง ระบบการฝึกและ สอบเลื่อนคุณวุฒิระบบเดียวกับโรงฝึกในญี่ปุ่น โรงฝึกอยู่ภายใต้การอนุญาตและควบคุมดูแลของ อาจารย์ โยชิทะกะ โนมูระ (Yoshitaka Nomura) , Menkyo Kaiden มุไกริว อิไอ เฮียวโด จาก สมาคมโยโกฮามะ มุไกไค (Yokohama Mugaikai) ซึ่งอยู่ภายใต้ มุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอเฮียวโด ชิริวไก (Mugai Shinden Mugairyu Iaihyodo Shiryukai) ภายใต้แนวทางการสอนของผู้สืบทอดคนที่ 16 ของ มุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอเฮียวโด (Mugai Shinden Mugairyu Iaihyodo) โดยอาจารย์ โคนิชิ มิสะคะซุ ริวโอ (Misakazu Konishi Ryuoh)

Bangkok Dojo is a study group of Mugai ryu Iai hyodo. The dojo is leaded by Ake Osothongs under the guidance of Yoshitaka Nomura Kyoshi from Yokohama Mugaikai.

 

Genealogy of Shiryukai Organization

 

Yokohama Mugaikai Organization (Updated on Jan 2022)

 

 

แนวทางในการฝึกฝนของโรงฝึก

วิชาของมุไกริวมีเป้าหมายการฝึกคือการพัฒนาขัดเกลามนุษย์จากภายใน การฝึกฝนในวิชาของมุไกริวอย่างต่อเนื่องก็เพื่อเป็นช่องทางเพื่อการขัดเกลาจิตวิญญาณ และ พัฒนาตัวตนข้างในของมนุษย์ มิใช่การฝึกฝนเพื่อเป็นวิชาที่เน้นศิลปะในการฆ่าฟัน และ ไม่ใช่วิชาที่มีความต้องการเข่นฆ่าในการต่อสู้  “ไม่ทำร้ายผู้อื่น และ ไม่ถูกผู้อื่นทำร้าย แต่เข้าใจสถานการณ์และโต้ตอบด้วยความสุขุม” 

การฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ในลักษณะของโคริว (ศิลปะการต่อสู้โบราณ) คือ การจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ตั้งแต่ยุคเอโดะซึ่งเริ่มมีความสงบเกิดในประเทศญี่ปุ่น วิชาการต่อสู้จำนวนมากได้ถูกนำมาฝึกและทบทวนการต่อสู้ในสนามรบด้วยการจำลองสถานการณ์ในลักษณะของกาต้า เพื่อให้ซามูไรได้เตรียมความพร้อมในการรบที่สามารถเกิดขึ้นได้อีกครั้ง เทคนิคเหล่านั้นจึงไม่ใช่เพียงแค่การร่ายรำดาบให้สวยงามแต่จะรวบรวมแนวคิดที่ถูกใช้งานในสนามรบในแต่ละการเคลื่อนไหว ซึ่งการฝึกศิลปะการต่อสู้โบราณจึงพยายามคงสภาพของกาต้าเดิมเพื่อรักษาแนวคิดการต่อสู้ในอดีตที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกโดยง่ายในปัจจุบันนั้นไว้     

การฝึกในกลุ่มฝึกประเทศไทยจะมุ่งเน้นในด้านการฝึก มุไกริว อิไอเฮียวโด มุ่งเน้นพื้นฐานดั้งเดิมของมุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอเฮียวโด ผู้เข้าฝึกที่เป็นสมาชิกของมุไกริวเข้าร่วมฝึกในโรงฝึกที่ญี่ปุ่น และ สามารถสอบคุณวุฒิจากประเทศญี่ปุ่นได้ตามระเบียบของโรงฝึก

* สถานที่ฝึก และ ค่าใช้จ่าย ดูได้ที่หน้า  เวลาฝึก สถานที่ และการติดต่อ

 

 

11934977_10153282959539024_2849317371047282589_n
ภาพการฝึกในญี่ปุ่น

Yo-Chu-In_2013
Embu โดย อาจารย์โยชิทะกะ โนมูระ

 

สำหรับผู้รับรองกลุ่มฝึกประเทศไทย อาจารย์ โยชิทะกะ โนมูระ จากโยโกฮาม่ามุไกไค เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านศิลปะการต่อสู้มาเป็นระยะเวลานานในหลากหลายวิชา เป็นผู้ดูแลการฝึกของโรงฝึกและกลุ่มฝึกของมุไกริวในต่างประเทศหลายแห่ง ปัจจุบันนอกจากวิชาดาบมุไกริว ยังเป็นเลขาของสมาพันธ์บัตโตะนานาชาติในส่วนของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน อาจารย์ โยชิทะกะ โนมูระ ได้รับคุณวุฒิด้านศิลปะการต่อสู้ต่อไปนี้

  • วิชาดาบมุไกริว อิไอเฮียวโด  Mugairyu Iai Hyodo รับตำแหน่ง Kyoshi สายดำระดับ 9 เม็งเกียวไคเด็น (Yokohama Mugaikai)
  • วิชาดาบนากามุระ ริว บัตโตะโด Nakamuraryu Battodo รับตำแหน่ง Kyoshi สายดำระดับ 8
  • วิชาไดโตริว ไอคิยูยิสสู Daitoryu Aikijujutsu รับตำแหน่ง Kyoju-dairi สายดำระดับ 6
  • วิชาโอกินาวะ โคบูโด Okinawan Kobudo สายดำระดับ 4

 


อาจารย์ โยชิทะกะ โนมูระ ขณะฝึกกับ โซเกะ โคนิชิ มิสะคะซุ ริวโอ ผู้สืบทอดของมุไกริว รุ่นที่ 16

 


อาจารย์ โยชิทะกะ โนมูระ เดินทางเผยแพร่วิชาดาบในต่างประเทศ 

 

โนมุระเซ็นเซย์ สาธิตมุไกริว ที่เกียวโต โบคุเด็น ฮอลล์ เนื่องในการจัดประชุมครบรอบ 25 ปี ของสมาพันธ์ นิปปอน อิไอจุสสุ 

 

โนมุระเซ็นเซย์ สาธิตมุไกริว อิไอโด ที่เกียวโต โบคุเด็น ฮอลล์ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2023

 

กฎข้อบังคับของโรงฝึก

โรงฝึกมุไกริว กรุงเทพอยู่ใต้กฎข้อบังคับเของสมาคมโยโกฮาม่า มุไกไค โดยมีกฎและข้อบังคับดังต่อไปนี้ 

  1. จุดประสงค์ของโรงฝึกมุไกริว กรุงเทพ คือการฝึกและส่งเสริมวิชา Mugai Shinden Mugairyu Iai Hyodo (เรียกว่า มุไกริว : Mugairyu) ซึ่งสืบทอดมาจากอาจารย์ Soke Misakazu Konishi ผู้สืบทอดรุ่นที่ 16 และ รวมถึงศิลปะการต่อสู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. เป้าหมายของการฝึกวิชาใน Mugairyu คือ การฝึกฝนถึงคุณสมบัติของมนุษย์ การฝึกฝนที่ต่อเนื่องในมุไกริวนั้นมีความหมายถึงการขัดเกลาและหล่อหลอมจิตวิญญาณ ภายใต้แนวคิดของคัตสึจินเคน (Katsujinken) ที่ว่า “ไม่ฆ่าคนอื่น ไม่ถูกคนอื่นฆ่า” จะถูกนำมารวมไว้ในการฝึกทุกครั้ง 
  3. สมาชิกต้องเป็นผู้ที่สนับสนุนให้เกิดความสงบเรียบร้อย และ ความซื่อตรงในสังคมมนุษย์
  4. สมาชิกต้องไม่เป็นสมาชิกขององค์กรมุไกริวอื่น
  5. สมาชิกต้องไม่ต่อสู้กับกลุ่มหรือวิชาศิลปะการต่อสู้กลุ่มอื่น
  6. สมาชิกจะต้องไม่วิพากษ์วิพากษ์วิจารณ์วิชาหรือกลุ่มศิลปะการต่อสู้อื่น
  7. สมาชิกต้องไม่สอนมุไกริว โดยไม่ได้รับอนุญาตและอนุมัติจากประธานสมาคมมุไกริว โยโกฮาม่า
  8. สมาชิกต้องไม่เพิ่ม ลบ หรือแก้ไขท่า และ รูปแบบในการฝึกของมุไกริว
  9. สมาชิกต้องไม่โพสต์ วิดีโอ รูปภาพ หรือ ข้อความ บนสื่อสังคมออนไลน์ ที่แสดงถึงการเคลื่อนไหวของมุไกริวกาต้า หรือ เทคนิคใด ๆ 
  10. หากปราศจากการอนุญาตและการอนุมัติจากประธานสมาคมโยโกฮาม่า มุไกไค สมาชิกจะไม่ตีพิมพ์สิ่งพิมพ์ใด ๆ เช่น หนังสือ วิดีโอ ดีวีดี เครื่องหมายการค้า และอื่นๆ เกี่ยวกับมุไกริว หรือจดทะเบียนสิ่งใดในชื่อของมุไกริว หรือ สมาคมโยโกฮาม่า มุไกไคและเครื่องหมายการค้าอื่น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต  

น.ต.ดร. เอก  โอสถหงษ์ หัวหน้ากลุ่มฝึกมุไกริวกรุงเทพ เป็น Yudansha ในวิชามุไกริว อิไอ เฮียวโด และมีประสบการณ์ด้านศิลปะการต่อสู้มากกว่ายี่สิบปีในหลากหลายวิชา ได้ระดับสายดำระดับสูงสุด รับตำแหน่ง ยูฟู ชิฮัน ในวิชาบูจินกันบูโด ไทจุสสุ และ เป็นผู้ก่อตั้งและสอนในโรงฝึกบูจินกันประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 1998 ในช่วงที่ไปพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นระหว่างศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้เข้าฝึก วิชามุไกริว อิไอเฮียวโด ที่โรงฝึกเอโดะมุไกไค ที่เมืองโตเกียว ซึ่งอยู่ภายใต้ มุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอเฮียวโด ชิริวไก  โดยเข้าฝึกกับอาจารย์ โยชิทะกะ โนมูระ และ อาจารย์ซากาคุจิ มิชินาริ (เอโดะ มุไกริว)  จนเมื่อกลับสู่ประเทศไทยได้รับอนุญาตให้เปิดกลุ่มฝึกมุไกริว กรุงเทพ โดยกลุ่มฝึกขึ้นตรงกับ อาจารย์ โยชิทะกะ โนมูระ เม็งเดียวไคเด็น ในปี 2023 ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อของกลุ่มฝึกมุไกริว กรุงเทพ เป็น โรงฝึกมุไกริว กรุงเทพ 

 

vlcsnap-2015-02-15-05h29m35s133

 

การฝึกและสอบสายที่ประเทศญี่ปุ่น

s__117121048



 

การฝึกในประเทศไทย 

 

การฝึกโดยอาจารย์ โยชิทะกะ โนมูระ ในประเทศไทย

 

 

การสอบเลื่อนคุณวุฒิ

สมาชิกของโรงฝึกสามารถสอบเลื่อนลำดับสายได้ตามระเบียบของโรงฝึก โดยสามารถทำการสอบได้เมื่อเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น และ เมื่อมีการจัดสอบในประเทศไทย  

สมาชิกโรงฝึกเข้าสอบในประเทศไทย

 

s__117121052สมาชิกโรงฝึกเข้าสอบในประเทศญี่ปุ่น