มุไกริว อิไอเฮียวโด

มุไก ริว (Mugai ryu) จัดเป็นสำนักศิลปะการต่อสู้โบราณ(โคริว)วิชาหนึ่งก่อตั้งโดย ซึจิ เกตตัน ซุเกะโมชิ (Tsuji Gettan Sukemochi) ในช่วงปี ค.ศ. 1680-1695 โดยเป็นวิชาที่มีความชำนาญด้านการใช้ดาบเป็นพิเศษ วิถีดาบของมุไกริว มีลักษณะเด่นคือเทคนิคที่มีความกระชับ และ การเคลื่อนไหวที่ตรงไปตรงมา โดยมีการฝึกทักษะหลักสามด้าน คือ เคนจุสสุ(Kenjutsu),  อิไอโด(Iaido) และ ทาเมชิกิริ(tameshigiri)

วิชาอิไอโดโดยทั่วไปยกย่อง ฮายาชิซากิ จินสุเกะ ชิเกะโนบุ ที่มีชีวิตในช่วง ค.ศ.1542 – ค.ศ.1621 ว่าเป็นผู้ให้กำเนิดวิชาอิไอโด ซึ่งภายหลังได้แพร่หลายพัฒนาแนวทางไปในหลากหลายสำนัก ซึ่งวิชาของมุไกริวกำเนิดขึ้นโดย ซึจิ เกตตัน ซุเกะโมชิ ที่มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.1648 – ค.ศ.1727 โดยในขณะนั้นเป็นที่รู้จักกันในวิชาเคนจุสสุ (ศิลปะการใช้ดาบ) แต่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในด้านของวิชาอิไอโดมากกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างวิชามุไกริว เคนจุสสุ และ อิไอโด เริ่มขึ้นเมื่อ ซึจิ เกตตัน ฝึกวิชาอิไอจาก ทากะ จิเคียวเคน โมริมะสะ ผู้ก่อตั้งวิชา จิเกียว ริว อิไอ (Jikyo-ryu Iai)

 

ภาพวาดของซึจิ เกตตัน ซุเกะโมชิ

tsuji

 

ลำดับวิวัฒนาการของมุไกริว 

ซึจิ เกตตัน ซุเกะโมชิ เกิดในพื้นที่ของโคกะ ในจังหวัดโอมิ (ปัจจุบันคือจังหวัดชิกะ) เมื่ออายุ 13 ได้เดินทางออกจากหมู่บ้านไปยัง เกียวโตเพื่อฝึก วิชาดาบสาย ยามากุฉิ ริว โดยมีอาจารย์คือ ยามากุฉิ โบคุชินไซ โมริมะสะ จนเมื่ออายุได้ 26 ปี ก็ได้รับเม็งเกียวไคเด็น (คุณวุฒิที่ได้รับถ่ายทอดวิชาจนหมดสิ้น) ในวิชาดาบสาย ยามากุฉิ ริว หลังจากนั้นได้เดินทางเพื่อฝึกฝนฝีมือจนได้เข้าสู่เมืองเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) เมื่อเข้ามาอาศัยในเมืองเอโดะได้เปิดโรงฝึกเพื่อสอนวิชาดาบสายยามากุฉิ ริว แต่ท่านยังรู้สึกว่าวิชาดาบของท่านยังขาดอะไรบางอย่างโดยเฉพาะการฝึกทางด้านของการฝึก “โด”(วิถี) และ จิตใจ จึงเข้าฝึกฝนตัวเองในวิถีแห่งเซนที่วัดคิวโคจิ ภายใต้การอบรมของ นักบวชเซ็น เซกิทัน ริวเซ็น เมื่ออายุได้ 45 ปีได้เข้าถึงภาวะรู้แจ้งในวิถีแห่งเซ็น โดยได้รับการรับรองจากอาจารย์ของท่าน และได้รับมอบบทโศลกทางเซ็นจากอาจารย์ว่า

 

一法実無外 Ippo Jitsu-ni Hoka Nashi

乾坤得一貞 Kenkon Ittei-wo Wu

吹毛方納密 Suimou Masa-ni Mitsu-ni Osamu

動着則光清 Douchaku Sunawachi Hikari Kiyoshi

ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากความจริงเดียว
ที่ครอบคลุมทุกอย่างและเป็นนิรันดร์
แม้ขนนกที่ถูกลมพัดก็จะแสดงถึงความจริงนี้
การเข้าใจถึงความกลมกลืนกันท่ามกลางความสับสนก็คือการรู้แจ้ง

 

รูปของซึจิ เกตตัน ในชุดนักบวชนิกายเซน

 

โดย ซึจิ เกตตัน ได้นำอักษรคำว่า “มุไก” จากบทโศลกที่ได้มาใช้แทนชื่อจริงของท่าน จนในเวลาต่อมาเมื่อพูดถึงวิชาดาบของท่านจะถูกเรียกว่า วิชาดาบของมุไก กลายเป็นชื่อของวิชาดาบ มุไก ริว ในเวลาต่อมา

ซึจิ เกตตัน ไม่ได้เลือกใช้คำว่า อิไอโด เป็นชื่อของวิชาเหมือนวิชาอื่น ๆ แต่ใช้คำว่า อิไอเฮียวโด เนื่องจากต้องการแสดงมุมมองที่ว่าการฝึกดาบจะต้องมีแนวคิดและมุมมองของการต่อสู้ในสงครามเข้าไปด้วย (คำว่าเฮียว 兵 แปลว่า การทหาร และ โด แปลว่า แนวทางหรือวิถี)

ในเวลาต่อมาชื่อเสียงของ ซึจิ เกตตัน เป็นที่รู้จักไม่เพียงเฉพาะในฐานะของนักดาบ แต่ได้รับการนับถือในฐานะผู้บรรลุธรรมจึงทำให้ได้รับการเคารพนับถืออย่างกว้างขวางและมีลูกศิษย์จำนวนมาก โดยมีบันทึกว่าท่านได้รับไดเมียวถึง 32 คนเป็นศิษย์ และ มีลูกศิษย์ที่เป็นขุนนางภายใต้โชกุนและไดเมียวอีกจำนวนมาก

เนื่องจาก ซึจิ เกตตัน ประพฤติตนเป็นโรนิน (ซามูไรผู้ไร้เจ้านาย) ที่อุทิศตนสู่วิถีแห่งดาบและเซน จึงไม่ได้สมรสและไม่มีบุตร เมื่อท่านเสียชีวิตขณะอายุ 79 ปี ได้มีการแต่งตั้งผู้สืบทอด(โซเกะ) โดย ซึจิ อุเฮอิตะ หลานชาย ได้รับตำแหน่งผู้สืบทอดวิชาคนที่ 2 ของ มุไก ริว และ ต่อมา ซึจิ คิมะตะ ลูกบุญธรรม ได้รับตำแหน่งผู้สืบทอดคนที่ 3 ของ มุไก ริว ซึ่งทั้งสองเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เผยแพร่วิชาดาบมุไกริวจาก ซึจิ เกตตัน ตามที่มีไดเมียวร้องขอ จนทำให้ต่อมาวิชาดาบของมุไกริว แพร่หลายต่อไปมากโดยเฉพาะใน 4 พื้นที่ ได้แก่ โตสะ (จังหวัดโคจิในปัจจุบัน), ฮิเมจิ (พื้นที่ในจังหวัดเฮียวโกะในปัจจุบัน), อิเซซากิ (พื้นที่ในจังหวัดกุนมะ) และ โคโรโมะ (พื้นที่ในจังหวัดไอจิ)  ซึ่งตั้งแต่ยุคแรกนั้นผู้ฝึกวิชาดาบมุไกริวจะมีการฝึกวิชาจิเกียว ริว อิไอควบคู่ไปด้วย และ ผู้สืบทอดวิชาดาบมุไกริว ก็รับการฝึกฝนและสืบทอดวิชา จิเกียว ริว อิไอ จากครอบครัวซากาอิในฮิเมจิ หนึ่งในตระกูลทาคาฮาชิ

image ทาคาฮาชิ คิวทาโร่ โคอุน

 

ทาคาฮาชิ คิวทาโร่ โคอุน ตำแหน่งผู้สืบทอดวิชาคนที่ 10 ของ มุไก ริว เกิดในปี 1879 โดยได้เรียนวิชาดาบมุไกริว เฮียวโด วิชาจีเกียว ริว อิไอ และ ซึดะอิชิเด็น ริว เคนจุสสุ จาก ทาคาฮาชิ ทาเคนาริ เทะสึโอะ ผู้เป็นบิดาและเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาดาบที่มีชื่อเสียงจากการที่เป็นผู้สอนวิชาดาบ(เคนจุสสุ)ในกองตำรวจนครบาลในปี ค.ศ.1887  หลังจากได้ฝึกฝนวิชาดาบกับบิดามาเป็นระยะเวลานาน ทาคาฮาชิ คิวทาโร่ ได้ถูกมอบหมายให้เป็นผู้สอนวิชาเคนจุสสุในโรงเรียนการศึกษาระดับสูงแห่งหนึ่งในโกเบ(ซึ่งภายหลังกลายเป็นมหาวิทยาลัยโกเบ) นอกไปจากนั้นยังเคยได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้สอนของสมาคมศิลปะการต่อสู้เฮียวโกะ (Hyogo Butokukai) โดยวิชาของ จีเกียว ริว อิไอโด นั้นถูกฝึกและสอนมาควบคู่กับวิชาดาบของ มุไก ริว เคนจุสสุ เสมอมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดวิชา และ ถูกถ่ายทอดวิชาทั้งสองควบคู่กันมาในแต่ละรุ่น จนเมื่อผ่านไปหกรุ่น ผู้สืบทอดวิชาทางฝั่ง จีเกียว ริว กลับได้ขาดช่วงสูญหายไป และ ทำให้ จีเกียว ริว อิไอโด ที่ถูกสอนในสำนักมุไก ริว ก็กลายเป็นที่รู้จักกันในส่วนหนึ่งของวิชาใน มุไก ริว แทน

 

นาคะกาวะ ชินิฉิ ชิริว  

เมื่อ นาคะกาวะ ชินิฉิ ชิริว ได้รับสืบทอดทักษะทั้งหมดจากทั้งวิชา มุไกริว เฮียวโฮ (เคนจุสสุ) และ วิชา มุไกริว อิไอโด จากทาคาฮาชิ คิวทาโร่ ผู้เป็นบิดา และ ได้รับตำแหน่งผู้สืบทอดคนที่ 11 ของ มุไกริว ต่อจากบิดา ท่านจึงได้รวบรวมวิชาทั้งสองไว้ด้วยกันในระบบการฝึกฝนในชื่อใหม่ว่า มุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอ เฮียวโด (Mugai Shinden Mugai-ryu Iai Hyodo) โดยไม่มียังไม่มีการแต่งตั้งผู้สืบทอดมุไกริวจนเมื่ออายุได้ 86 ปี ท่านได้สอนวิชาแก่ลูกศิษย์และได้มีผู้สืบทอดวิชาที่ได้รับเม็งเกียวไคเด็นทั้งหมดหกคนก่อนที่จะถึงแก่กรรม ซึ่งต่อมาทั้งหมดได้รับตำแหน่งโซเกะของมุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอ เฮียวโด สืบทอดต่อกันมาจนกระทั่งถึงคนสุดท้ายคือ อาจารย์ โคนิชิ มิสะคะซุ ริวโอ ผู้เป็นผู้สืบทอด(โซเกะ) คนที่ 16 ของ มุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอ เฮียวโด

 

 

  โคนิชิ มิสะคะซุ ริวโอ
ผู้สืบทอด(โซเกะ) คนที่ 16 ของ มุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอ เฮียวโด

 

เนื่องจาก ซึจิ เกตตัน ซุเกะโมชิ และ ผู้สืบทอดได้เผยแพร่สอนวิชาดาบ มุไกริว อิไอ เฮียวโด ให้กับศิษย์จำนวนมากในหลากหลายสถานที่ จึงทำให้มีศิษย์ที่ได้ เม็งเกียวไคเด็นกระจายอยู่ทั่วญี่ปุ่น ซึ่งการเดินทางที่ยากลำบากและระยะห่างในขณะนั้นทำให้เกิดสำนักที่ได้สอนวิชาของ มุไก ริว ในชื่อสมาคมที่แตกต่างกันไป โดยปัจจุบัน มุไก ริว มีหลายหลายสำนักและกลุ่มองค์กรซึ่งหลายสำนักเทคนิคก็ได้ผสมผสานกับวิชาอื่น ๆ  ไปด้วย โดยอาจารย์ โคนิชิ มิสะคะซุ ริวโอ ผู้สืบทอดคนที่ 16 ของ มุไก ชินเด็น มุไกริว อิไอ เฮียวโด นั้นรับสืบทอดตำแหน่งโดยสอนมุไกริวในแบบดั้งเดิมและจัดตั้งสมาคม ชิริวไค ที่ฮิเมจิ และ ดูแลกลุ่มสมาคมของมุไก ริว ทั้งหมดรวม 6 กลุ่มสมาคม โดยโยโกฮาม่า มุไกไคเป็นหนึ่งในสมาคมที่ท่านดูแล

 


Mugairyu Mokuroku 無外流目録 むがいりゅうもくろく (List of Mugairyu forms)

  • Goyo 五用(ごよう) : Literally “five functions”, 5 kneeling techniques.
    •    Shin   真   しん
    •    Ren  連 れん
    •    Sa    左 さ
    •    Yu   右  ゆう
    •    Sha  捨 しゃ
  • Goka 五箇(ごか) : Literally “five pieces”, 5 kneeling techniques.
    •    Suigetsu    水月   すいげつ
    •    In-chu-yo  陰中陽  いんちゅうよう
    •    Yo-chu-in  陽中陰  ようちゅういん
    •    Hibiki-gaeshi  響返   ひびきがえし
    •    Hazumi        破図身  はずみ
  • Goo 五応 : Literally “five applications”, 5 standing techniques.
    •    Muna-zukushi   胸尽 むなづくし
    •    Enyo     円要  えんよう
    •    Ryo-guruma     両車  りょうぐるま
    •    No-okuri          野送   のおくり
    •    Gyokko            玉光 ぎょっこう
  • Hashiri-gakari 走り懸り(はしりがかり): Literally “run and charge”, 5 standing techniques.
    •    Mae-goshi     前腰    まえごし
    •    Muso-gaeshi    夢想返   むそうがえし
    •    Mawari-gakari 廻懸      まわりがかり
    •    Migi-no-teki    右の敵   みぎのてき
    •    Shiho       四方   しほう
  • Naiden 内伝 (ないでん): Literally “Inner lore”, 3 standing techniques.
    • Sangyo-itchi 三行一致    さんぎょういっち
    • Kami-no-to  神門    かみのと
    • Banpo-ki-itto  万法帰一刀 ばんぽうきいっとう
  • Tachi-no-kata 太刀之形(たちのかた) Paired pattern with long swords.
    • Hokuto 北斗 ほくと
    • Taihaku   太白 たいはく
    • Kasumi   霞  かすみ
    • Inazuma 稲妻  いなずま
    • Ryusei    流星 りゅうせい
  • Wakizashi-no-kata 脇差之形(わきざしのかた) :    Paired pattern with short swords.
    • Kiri-dome  斬留 きりどめ
    • Tsuki-dome  突留 つきどめ
    • Uke-nagashi 受流 うけながし
    • Kiri-age     斬上 きりあげ
    • Kurai-zume  位詰 くらいづめ

 

Ref: Yokohama Mugaikai